- ระยะทางรวม 193.5 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นจากสถานีลาดกระบังไปจนถึงสถานีระยอง
- ใช้เขตทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นหลัก
- ระบบรางคู่ (Double Track) และมีความกว้างรางขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standard Gauge)
- โครงสร้างทางยกระดับ (Elevated) เกือบทั้งหมด และมีอุโมงค์เดี่ยวทางคู่ (Single Large Tunnel for Double Track) ความยาว 300 เมตร บริเวณทางเบี่ยงเขาชีจรรย์
- ศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) พื้นที่กว่า 400 ไร่ จะตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
- คาดว่าจะเปิดเดินรถได้ในปี 2563 (ข้อมูล วันที่ 12/05/59)
- ในอนาคตจะมีการพัฒนาส่วนต่อขยายจากสถานีระยองไปยังท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา และจังหวัดตราด รวมระยะทางอีก 160 กิโลเมตร
- เป็นระบบรถไฟความเร็วสูงที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- ระยะเวลาเดินทางประมาณ 1.05 ชั่วโมง (65 นาที)
- ขบวนรถมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ โดยจำแนกการให้บริการทั้งระดับชั้นวีไอพี (VIP Class) ชั้น 1 (First Class) และชั้นธรรมดา (Standard Class)
- สถานีรถไฟความเร็วสูงทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ ลาดกระบัง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และระยอง
- ที่ตั้งของสถานีมีความสอดคล้องกับข้อกำหนดด้านผังเมืองและแนวคิดในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่สอดคล้องกับระบบขนส่งมวลชน (Transit Oriented Development: TOD)
- มีทางเข้า-ออกสถานีที่เชื่อมต่อระหว่างย่านสถานีกับถนนโดยรอบ พร้อมทั้งจัดให้มีพื้นที่จอดรับส่งผู้ใช้บริการเพื่อให้สามารถเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่ง (INTER-MODAL PLANNING) ไปยังระบบขนส่งอื่นๆ เช่น Airport Link รถไฟความเร็วสูงสายแก่งคอย-ฉะเชิงเทรา ระบบขนส่งมวลชนทางรางขนาดเบา (Monorail) ของเมืองพัทยา
- สถาปัตยกรรมภายในอาคารบ่งบอกเอกลักษณ์ของท้องถิ่น มีความทนทานต่อสภาพอากาศ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเด็ก ตามมาตรฐานสากล (Universal Design) รวมถึงพื้นที่สำหรับจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชน เพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพและกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น สถานีรถไฟความเร็วสูง ระยอง*** ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลง โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
ที่มา : thaihispeedtrain-rayong