แม้ในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 จะยังคงอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง และทุกคนยังคงต้องคอยเฝ้าระวังทั้งในการเดินทางและการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะทุกคนมีสิทธิ์ติดโรคนี้ได้เท่ากัน ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยใด เพราะเชื้อ COVID-19 เป็นเชื้อไวรัสใหม่ที่แต่ละคนก็ยังไม่มีภูมิต้านทาน เพียงแต่ระดับความรุนแรงของโรคจะแตกต่างไปตามสภาพร่างกาย ใครที่แข็งแรงกว่า ไม่มีประวัติสุขภาพก็อาจจะต่อสู้กับเชื้อได้ดีกว่า แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนควรทราบคือ การติดต่อของเชื้อ COVID-19 ไม่ได้เกิดขึ้นได้ง่ายอย่างที่เราคิด แค่เพียงการเดินสวนหรือพูดคุยกัน แต่ต้องมีปัจจัยสำคัญอย่างการสัมผัสกับละอองน้ำลาย หรือเสมหะ จากการไอและจามของผู้ป่วย หรือผู้ที่เป็นพาหะ ดังนั้นจึงมีวิธีการป้องกันง่ายๆที่เราสามารถทำได้ เพื่อลดความเสี่ยงในการได้รับเชื้อ COVID-19 ดังนี้
ล้างมือบ่อยๆ ด้วย เจลแอลกอฮอล์70%++ หรือน้ำอุ่น+สบู่ |
ล้างมือด้วยน้ำอุ่นและสบู่
หรือ เจลแอลกอฮอล์ 70% บริเวณหลังมือ ร่องนิ้ว และซอกเล็บ อย่างน้อย 20
วินาที
หลังสัมผัสพัสดุไปรษณีย์ ลูกบิดหรือที่จับประตู ปุ่มกดลิฟต์สิ่งต่างๆที่ต้องใช้ร่วมกันกับผู้อื่นหรือหลังจากมีการสัมผัสกับร่างกายของผู้อื่น |
ไม่ใช้มือขยี้ตา หรือ สัมผัสใบหน้า |
ถ้ายังไม่ล้างมือ
ให้หลีกเลี่ยงการใช้มือขยี้ตาหรือสัมผัสใบหน้า ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ |
งดคุยใกล้ และไม่สัมผัสร่างกาย |
เว้นระยะห่างในการพูดคุยกับผู้คน อย่างน้อย 2 เมตร และควรงดการสัมผัสร่างกายกันโดยตรง เพื่อลดการสัมผัสละอองน้ำลายของผู้อื่น |
ใส่ถุงมือ หรือ ใช้ศอก แทนการใช้มือและนิ้ว |
หากต้องผลักหรือเปิดประตู
กดลิฟต์ หรือสัมผัสกับสิ่งใดที่เป็นของใช้ส่วนรวม ควรใส่ถุงมือก่อน
หรือใช้ส่วนศอกแทนการใช้มือและนิ้ว
เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับละอองของเชื้อที่อาจติดอยู่กับสิ่งต่างๆได้นานหลายชั่วโมง |
ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกัน |
งดการใช้สิ่งของต่างๆร่วมกับผู้อื่นในช่วงที่มีการระบาดของโรค |
ใส่หน้ากากถ้าหากเสี่ยง และหลีกเลี่ยงการใช้ซ้ำ |
หากใครเริ่มสงสัยว่าตนเองมีอาการผิดปกติ
ควรใส่หน้ากากเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ หรือผู้ที่ไม่มีอาการ
แต่ต้องเดินทางไปในที่สาธารณะที่มีคนจำนวนมากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้การใส่หน้ากากอาจช่วยป้องกันการได้รับละอองน้ำลายจากผู้อื่นได้บ้างแต่ไม่ควรใช้งานหน้ากากอนามัยซ้ำกันเกิน
1 วัน
เพราะอาจมีแบคทีเรียสะสม ยกเว้นแบบซักทำความสะอาดได้
และควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับพื้นผิวด้านนอกของหน้าการอนามัยหลังใช้งาน |
แยกสำรับ กินร้อน ใช้ช้อนกลาง |
ทานอาหารที่ปรุงสุขใหม่ๆ ดื่มน้ำอุ่นแทนน้ำเย็น และใช้ช้อนกลาง หรือถ้าเป็นไปได้ การแยกสำรับอาหารกันไปเลยก็เป็นไอเดียที่ดีเพื่อไม่ต้องสัมผัสช้อนหรือภาชนะอาหารร่วมกับใคร |
เช็ดฝาชักโครก่อน+หลังใช้ และปิดไว้หลังขับถ่าย |
หลังขับถ่าย ควรทำความสะอาดฝาชักโครกด้วยแอลกอฮอล์ และปิดฝาชักโครก เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อ ที่อาจมีโอกาสติดมากับของเสียที่ขับถ่ายออกจากร่างกายของผู้ป่วย หรือผู้ที่เป็นพาหะ |
อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด |
หากเดินทางออกนอกบ้าน หลังจากกลับมาควรชำระล้างร่ายกายให้สะอาดอยู่เสมอ |
กำจัดขยะอย่างถูกต้อง |
ก่อนทิ้งขยะ
ควรมัดถุงขยะให้มิดชิด โดยเฉพาะขยะที่เสี่ยงต่อการติดเชื้ออย่าง กระดาษชำระ สำลี
หน้าการอนามัย เป็นต้น เวลามัดปากถุง ควรใส่ถุงมือ
หลีกเลี่ยงการสัมผัสถุงขยะโดยตรง |
ทำบ้านให้สะอาด ปราศจากเชื้อ |
เชื้อไวรัสสามารถมีชีวิตอยู่บนสิ่งของต่างๆได้นานหลายชั่วโมง
ควรหมั่นทำความสะอาดบ้าน
และเช็ดสิ่งของต่างๆที่เราใช้ในชีวิตประจำวันด้วยน้ำสบู่ ผงซักฟอก หรือแอลกอฮอล์ |
งดเดินทางต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง |
ควรงดการเดินทางออกนอกประเทศในระยะนี้
โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มเสี่ยง |
กักกันตัวเอง 14 วัน |
หากพบอาการผิดปกติ เช่น ไอ จาม เจ็บคอ คัดจมูก ร่วมกับอาการไข้ขึ้นสูง ควรกักตัวเองอยู่บ้านเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน และติดต่อสถานพยาบาลเพื่อเข้ารับการตรวจคัดกรองหาเชื้อ รู้แต่เนิ่นๆ สามารถดูแลตัวเอง เพื่อลดความรุนแรงของโรค และป้องกันการแพร่เชื้อต่อไปสู่ผู้อื่นได้ |