บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GCร่วมกับ มหาวิทยาลัยศิลปากรสานต่อการดำเนินโครงการเส้นทางแห่งความสุขจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมสำหรับครูในพื้นที่จังหวัดระยอง ภายใต้โครงการคลังข้อมูลสารสนเทศศิลปวัฒนธรรมระยอง โดยมีว่าที่ร้อยตรีพิรุณ เหมะรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยองให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากโครงการวิจัยสู่การศึกษาในชั้นเรียนของเยาวชนท้องถิ่นจังหวัดระยอง ระหว่างวันที่ 6-7 มิถุนายน 2562ณ โรงแรมคลาสสิค คามิโอ วัดโขดทิมธาราม วัดบ้านแลง โรงงานน้ำปลาตั้งไถ่เชียง และถนนยมจินดาจังหวัดระยอง
00หน้าปก.pdf
นางอภิชญา เดชไกรวัลย์ ผู้จัดการส่วนหน่วยงานพัฒนากิจการเพื่อสังคมบริษัท พีทีทีโกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า GC ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมเคมีภัณฑ์เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตที่ดี มีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการสืบสานศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าของจังหวัดระยองGC ริเริ่มโครงการ “เส้นทางแห่งความสุข”เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของจังหวัดระยอง ที่นับวันอาจเลือนหายไปตามกาลเวลา ทำให้คนรุ่นหลังไม่ทราบความเป็นมาที่แท้จริงของถิ่นกำเนิดตนเอง เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่าของจังหวัดระยองให้โดดเด่นสะท้อนอัตลักษณ์ของชาวระยองมากขึ้น ควบคู่ไปกับการบูรณาการโครงการ CSR ของบริษัทฯ ในทุกมิติให้เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบและส่งเสริมให้จังหวัดระยองเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว ในการก้าวเข้าสู่ EEC โดยได้ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นระยะเวลา 3 ปี จากปี 2561-2563
อาจารย์ศศิธร
ศิลป์วุฒยา รองคณบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและกิจการพิเศษ
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรกล่าวว่า มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ร่วมกับ GC จัดทำโครงการคลังข้อมูลสารสนเทศศิลปวัฒนธรรมระยอง
โดยได้เริ่มต้นดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2561 ครอบคลุมพื้นที่วิจัยบริเวณลุ่มน้ำระยอง
ซึ่งได้มีการค้นพบมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญมากมาย อันได้แก่ วัดวาอารามเก่าแก่
ศิลปกรรมโบราณ วิถีชีวิตของผู้คน ประเพณี
ความเชื่อที่ยังสะท้อนถึงรากเหง้าของความเป็นระยอง รวมถึงสามารถอธิบายถึงมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าที่ยังหลงเหลืออยู่ให้เห็นในเชิงประจักษ์
ผ่านการศึกษาวิจัยในโครงการต่างๆ คือ โครงการวิจัยประวัติวัฒนธรรมและเส้นทางสายประวัติศาสตร์
โครงการวิจัยด้านเอกสารโบราณ โครงการวิจัยด้านศิลปกรรมและงานช่าง
และโครงการวิจัยข้อมูลชาติพันธุ์และวิถีชุมชน ปัจจุบันการดำเนินการศึกษาวิจัยดำเนินอย่างต่อเนื่องสู่ระยะที่
2 ในปีนี้
ได้มีการขยายพื้นที่การศึกษาเพิ่มเติมจากบริเวณลุ่มน้ำระยองไปยังบริเวณลุ่มน้ำประแส
พร้อมทั้งจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมสำหรับครูในพื้นที่จังหวัดระยองซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นการเผยแพร่องค์ความรู้จากโครงการวิจัยไปสู่การศึกษาในชั้นเรียน
เพื่อมุ่งหวังให้เยาวชนท้องถิ่นได้ตระหนักถึงรากฐานความเป็นมา เนื้อหา
คุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ และนำมาอนุรักษ์ พัฒนา ยกระดับ
หรือต่อยอดวัฒนธรรมในพื้นที่ต่อไป
สำหรับการอบรมฯ ครั้งนี้แบ่งออกเป็น 5 หัวข้อ ได้แก่
- การอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “เส้นทางสายประวัติศาสตร์เมืองระยอง”
โดย ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- การอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “เนื้อหา คุณค่า : เอกสารโบราณเมืองระยอง”
โดย ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- การอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “ศิลปกรรมและงานช่างโบราณเมืองระยอง”
โดย ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- การอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “คนและวัฒนธรรมเมืองระยอง”
โดย ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- การบรรยาย หัวข้อ “การบูรณาการงานวิจัยกับกระบวนการพัฒนาการเรียน
โดย สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 (ชลบุรี – ระยอง)
และ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมทัศนศึกษา 4 สถานที่สำคัญของอำเภอเมือง จังหวัดระยอง ได้แก่ วัดโขดทิมธาราม วัดบ้านแลง โรงงานน้ำปลาตั้งไถ่เชียง และถนนยมจินดา เพื่อเพิ่มพูนความรู้ที่ได้จากการศึกษาข้อมูลประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรมภายในจังหวัดระยองให้แก่ครู เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เชิงประจักษ์ และนำไปถ่ายทอดสู่นักเรียน ซึ่งเป็นลูกหลานชาวจังหวัดระยองได้สืบทอดเรื่องราวและมรดกอันทรงคุณค่าแก่คนรุ่นหลังสืบไป
,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,